วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


ครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2557


แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา





แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษา

สะท้อนปรัชญา + ความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้  =  กระบวนการที่ต่างกัน
*** จะสอนสิ่งใดเราต้องมีความเชื่อต่อทฤษฎีนั้นก่อน ***

ทฤษฎีของ Richard + Rodger

แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. มุมมองด้านโครงภาษา
           - เสียง ไวยกรณ์ ประกอบคำ วลี
           - นำองค์ประกอบของภาษามาใช้สื่อความหมาย

2.  หน้าที่ของภาษา
           - เป็นเครื่องมือสื่อความหมาย

3.  มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
           - เป็นเครื่องมือส้างความสัมพันธ์ทางสังคม
           - แลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

   การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา Skill Approch
           ส่วนย่อยของภาษา >  ประสมคำ  >  ความหมาย  >  ประกอบเป็นประโยค

ตัวอย่าง  การแจกลูกคำ  กา งู ดู รู ดูกา มาดู ปูนา
x วิธีนี้เด็กจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริง เด็กท่องเพียงอย่างเดียว
          x ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ภาษาของเด็ก

** ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย **
**** สนใจ อยากรู้ สงสัย เลียนแบบ ****

การสอนแบบธรรมชาติ หรือ การเรียนภาษาแบบองค์รวม

(  Whole language )

Genneth Goodman  เป็ผู้เสนอแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ
  ** ทฤษฎีที่มีผลต่อการสอนภาษาธรรมชาติ **
Dewey + Piage + Vygotsky + Haliday

  - รู้จากประสบการณ์/ลงมือทำ
  - รู้จากกิจกรรม สัมผัส สิ่งรอบตัว
  - สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก

< จะเห็นภาพอยู่ในหัว  ใช้ภาพแทนการอ่าน >

ตัวอย่าง



จากรูป มีการใช้รูปภาพเป็นสัญลัษณ์ และ ตัวอักษร ด้วยกัน เป็นการสื่อความหมายที่เข้าใจตรงกันว่า " ลรักก็แล้ว แคร์ก็แล้ว ทำใจเหอะ "

การสอน
  -  บูรณาการ + องค์รวม
  -  สอนสิ่งที่สนใจ + มีความหมาย
  -  สิ่งใกล้ตัว + สิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
  -  สอกแทรกทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน
  -  ไม่เข้มงวดเรื่องการสะกดคำ ไม่บังคคับการเขียน

หลักการ
  1. การจัดสภาพแวดล้อม
  2. การสื่อสารที่มีความหมาย
  3. การเป็นแบบอย่าง
  4. การตั้งความคาดหวัง
  5. การคาดคะเน
  6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
  7. การยอมรับนับถือ
  8. สร้างความเชื่อมั่น


กิจกรรมในห้องเรียน

ทำ mind mapping









กิจกรรมฝึกร้องเพลง
มีทั้งหมด 10 เพลง

ผู้แต่ง อาจารย์ ศรีนวลรัตนสุวรรณ

                                          เพลง เลขบวกลบ                 เพลงนกกระจิบ  
                                          เพลง เที่ยวท้องนา               เพลง แม่ไก่ออกไข่่  
                                          เพลง ลูกแมวสิบตัว              เพลงลุงมาชาวนา  
                                          เพลงผีเเสื้อ                         เพลงกระต่าย  
                                          เพลง ลูกสัตว์                       เพลง  นกเขาขัน 








วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ.2557

                                                       ภาษาสำหรับเด็ก


ควรเป็นภาษาที่ถูกต้อง


จากรูปเป็นการติดป้ายชื่อชนิดของผลไม้ผิด ผลไม้ในรูป คือ "แตงโม"  แต่  ติดชื่อไว้ว่า "ทุเรียน"
อาจทำให้เด็กเกิดความสับสน และการเรียนรู้ที่ผิด จึงควรเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้อง


  ภาษาลาว

เป็นหนึ่งในประเทศอาเซียน มีภาษาที่คล้ายคลึงกับภาษาไทยมากที่สุด แต่ก็ยังคงมีความต่างกัน เนื่องด้วยวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิศาสตร์ของแต่ละชาตินั้นไม่เหมือนกัน  ก็ทำให้เห็นถึงความต่างกัน

รูปภาพที่สามารถมองได้ 2 แบบ

แบบที่ 1 จะสามารถมองได้เป็นรูป เป็ด 
แบบที่ 2 จะสามรถมองได้เป็นรูป กระต่าย
***เนื่องด้วยต่างคนต่างมุมอง ต่างจินตนาการ***

กิจกรรมในห้องเรียน


คัดลายมือพยัญชนะไทย ๔๔ ตัว 
       รูปแแบบหัวกลม ตัวเหลี่ยม  เพื่อ ที่เด็กจะได้ทราบถึงเล้นที่แน่นอน ลักษณะตัวอักษรที่ชัดเจน ง่ายแก่การเรียนรู้






วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4



ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557

นำเสนองานกลุ่ม 

ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ของเด็กปฐมวัย

 

การฟัง
 
 
   การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลายการฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท
  1. ฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  2. ฟังอย่างมีวัตถุประสงค์
  3. ฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง
  4. ฟังอย่างสร้างสรรค์
  5. ฟังแบบวิเคราะห์
 
 
การพูด
 
 
 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย
เด็กอนุบาล 1 พูดติดอ่าง ย้ำคำพูดตัวเอง
เด็กอนุบาล 2 พูดเป็นประโยคสั้นๆ
เด็กอนุบาล 3 ประโยคเริ่มสมบูรณ์
 

การอ่าน

 
  การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ

การเขียน


 
การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย


สรุป
 
       ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด  
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการเรียนรู้ โดยจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล



บันทึการเรียนครั้งที่ 3


ครั้งที่ 3
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2557


แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของภาษาเด็กปฐมวัย





1 แนวคิดกลุ่มพัฒนานิยม
Skinner
    - สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางภาษา
    - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
 John B. Watson
    - ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
    -  การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม


2 แนวคิดกลุ่มพัฒนาทางสติปัญญา
Vygotsky
    - เด็กเรียนรูจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก 
    - ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ ส่งเสริม ขยายประสบกรณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก
Piaget
    - อายุ 0-2 ปี เรียนรู้จากการสัมผัส
    -อายุ 2-4 ปี คิดมีเหตุผล
    -อายุ 7-11 ปี รูปธรรม
    -อายุ 11-15 ปี นามธรร

3 แนวคิดเชื่อเรื่องความพร้อมของร่างกาย
Arnold Gesell
  - ความพร้อมวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน

4  แนวคิดของกลุ่มเชื่อว่าภาษาติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด
 Noam Chomsky
  - การเรียนรู้ทางภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
O. Hobart Miwrer 
  - คิดค้นทฤษฎีความพอใจ



 จิตวิทยาการเรียนรู้
      -ความพร้อม
      - ความแตกต่างระหว่างบุคคล
      - การจำ
      - การให้แรงเสริม


                                                   




ตัวอย่างบทร้อยกรองที่สามารถช่วยพัฒนาการทางภาษาได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากเป็นคำคล้องจอง มีการใช้ตัวอักษร ห เป็นส่วนใหญ่  ทำให้ผู้ที่อ่านสนุกสนานและฝึกให้เป็นช่างสังเกตได้อีกด้วย

กิจกรรมวาดภาพสิ่งที่ตนเองรัก



การเขียนบรรยายใต้ภาพให้เด็กนั้น ต้องเขียนตามที่เด็กพูดทุกคำ ห้าม เพิ่ม เสริม ตัด คำพูดขอเด็กออก


นำเสนอผลงานสิ่งที่ตนเองรัก
สิ่งที่วาด คือ รูปย่า



     กิจกรรมฝึกร้องเพลง

มีทั้งหมด 10 เพลง
ผู้แต่ง อาจารย์ ศรีนวลรัตนสุวรรณ
                                        เพลง แปรงฟัน                                     เพลง อาบน้ำ  
                                        เพลง ล้างมือ                                       เพลง เมื่อพบกัน  
                                        เพลง พี่น้องกัน                                    เพลง ตาดูหูฟัง  
                                        เพลงฝึกกายบริหาร                              เพลง มาโรงเรียน  
                                        เพลง ใครเอ่ย                                      เพลง กินผักกัน








วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่1

ครั้งที่1

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2557 

                                       ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

      ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร เป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ 

เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ภาษาได้โดย
  1. ฟัง - การรับรู้เสียงที่ได้ยิน
  2. พูด -  เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย และตรงตามความต้องการของเด็ก
  3. อ่าน - ทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์
  4. เขียน - การแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ
***** ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีความเช้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเกินไป ถูกต้องและชัดเจน อีกทั้งผู้สอนต้องมีความรู้และใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง*****

                                       

ภาพกิจกรรมกลุ่ม