วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2557

ทบทวนเพลงสำหรับเด็กทั้งหมด

                                                     
ร้องเพลงสำหรับเด็ก
ซึ่งจะเลือกแบบสุ่ม โดยการจับฉลาก
และคุณครู ให้นักศึกษาได้จับฉลากเลือกเพลงด้วยตนเอง
(เพื่อเป็นวิธีการที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน)

เพลงที่จับฉลากได้ คือ เพลง ใครเอ่ย

                                              

คุณครูมอบรางวัลเด็กดี ให้กับนักศึกษาที่ทำดี มีน้ำใจ เพื่อเป็นกำลังใจในการทำดีต่อไป

การนำไปประยุกต์ใช้
1 เพลงต่างๆจะช่วยทำให้เด็กจดจำเรื่องที่จะเรียนได้ง่ายขึ้น
2 เพลงเป็นการเรียนการสอนที่สนุกสนานไม่น่าเบืื่อ 
3 เมื่อมีคนทำดีจึงต้องมีรางวัลตอบแทนความดี เพื่อเป็นแรงเสริมในการทำดีต่อไป และให้ผู้อื่นหันมาทำดี
4  ไม่ควรบังคับให้ใครได้ออกมาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยที่ตัวเขาเองไม่เต็มใจ


สรุป
                 คุณครูปฐมวัย จำเป็นต้องรู้จักบทเพลงเกี่ยวกับเด็กเยอะๆ เพราะ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนการสอนเด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆจากการเรียนรู้สาระต่างได้อย่างรวดเร็ว  การเขียนตัวอักษรก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกันต้องมีความขยันฝึกเขียนบ่อยๆจะทำให้เกิดความเคยชินเนื่อจาก แบบอักษรที่เขียน คือ "หัวกลมตัวเหลี่ยม"  รู้จักการเป็นคนกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเอง  ไม่บังคับให้เด็กทำหากไม่เต็มใจ หากต้องการให้เด็กทำควรเลือกวิธีที่ยุติธรรม  หรือ ขอความสมัครใจจากจิตอาสา





บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

ครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557

คำคล้องจองของเด็กปฐมวัย

ก.ไก่
  ก.เอ๋ย ก.ไก่              เลี้ยงไว้ในเล้า
ขันปลุกพวกเรา         ตื่นเช้ากันเอย
-------------------------------------------------------

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา



                           
                   1.การแสดงความรู้สึกด้วยถ้อยคำ
                   2.การสื่อสารกับผู้อื่น
                   3.เด็กได้มีโอกาสฟัง และมีความเข้าใจ
                   4.การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อสารที่มีความหมายต่อเด็ก
                   5.การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการ์ณในสื่อความหมายต่อเด็ก




ตัวอย่างกิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางภาษา
   
                          -   การเขียนตามคำบอกของเด็ก
              -   ช่วยเด็กเขียนบันทึก
               -   อ่านนิทานร่วมกัน   เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
               -   อ่านคำคล้องจอง  ร้องเพลง  เล่าสู่กันฟัง
               -   เขียนสารถึงกัน



 การประเมิน


                     1 ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
            2 ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
            3 ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
            4 ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
            5 ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล


การประเมินตนเอง 
           การฟัง - ไม่ค่อยเข้าใจคำพูดของคนอื่น 
           การพูด -  เป็นคนที่พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เรียงคำพูดไม่ค่อยถูก
           การอ่าน - ถ้าอ่านในใจจะเร็วเพราะชอบอ่าน แต่ ถ้าอ่านแบบออกเสียงจะอ่านไม่คล่องการเขียน  -  เขียนเร็ว ลายมือค่อยข้างเป็นระเบียบ เขียนถูกต้อง


การประเมินคุณครู

            สอนเข้าใจง่าย มีกิจกรรมต่างๆให้ทำอยู่เสมอ ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อ มีความเป็นกันเองเข้าใจนักศึกษา  เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม และถามความคิดเห็นของนักศึกษาอยู่เสมอ
           


กิจกรรมในห้องเรียน

กิจกรรมร้องเพลง














กิจกรรมแสดงละคร 
แสดงละครเพลง
วิธีการแสดง ทำเป็นเรื่องที่จะต้องการสื่อออกมาเล่าเรื่อง แล้วตามด้วยเพลง

***การแสดงแบบง่าย คือ ควรเลือกเพลงที่ร้องก่อน เพื่อให้ง่านต่อการดำเนินเรื่อง***



กลุ่มของดิฉันเลือกเพลง รถไฟ และ พี่น้องกัน

การนำไปประยุกต์ใช้                                           
1  ครูผู้สอนควรต้องใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย และ ถูกต้อง
2  จัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้เด็ก
3  ฝึกให้เด็กอ่านและเขียน ในรูปแบบที่หลากหลาย
4  ติดสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาใว้ภายในห้อง เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคย
5 กาารประเมินตนเอง ครูผู้สอน เพื่อจะได้พัฒนาหรือข้อบกพร่อง

สรุป

              การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้น การทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน เช่น การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การขเขียนตามใจของเด็ก  เป็นการเรียนผ่านการเล่นจะทำให้เด็กจำได้มากยิ่งขึ้น  การประเมินผลจะทำให้เราทราบถึงจุดเด่นที่ควรสนับสนุน เเละ จุดบกพร่องที่ควรได้รับการแก้ไข





บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ครั้งที่ 12
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2557


การทำหนังสือนิทาน " ฉันคืออะไร"



อาจารย์อธิบายถึงลักษณะการทำ

ฉันคือใคร เป็นนิทานที่ใช้คำซ้ำๆ ประโยคซ้ำๆ ให้เดาไปเรื่อยๆว่ารูปนี้จะกลายเป็นสิ่งใด

ลักษณะการทำ 
- รูปแรกต้องเหมือนกับรูปสุดท้าย แต่อาจจะมีบางอย่างเพิ่มขึ้นมา
- ข้อความจะต้องย้ำว่าสิ่งนี้มีลักษณะอย่างไร
- บอกสิ่งที่ทายผิดและทวนลักษณะนั้นๆ
- คำที่แตกต่างหรือเพิ่มเข้ามาควรเปลี่ยนสี เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง
- มีคำว่า และ ที่ประโยคสุดท้าย

กิจกรรมในห้องเรียน
ทำนิทานฉันคือใคร



ตัวอย่างนิทาน
นิทานเรื่อง ฉันคือ?
ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  เพื่อนๆตอบว่าฉันคือ ลูกโป่ง 
ฉันบอกว่า ไม่ใช่

ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต  เพื่อนๆตอบว่าฉันคือ นกเพนกวิน 
ฉันบอกว่า ไม่ใช่ 

ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต เคลื่อไหวได้ช้ เพื่อนๆตอบว่าฉันคือ หอยทาก
ฉันบอกว่า ไม่ใช่ 

ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต เคลื่อไหวได้ช้า  มีสี่ขา เพื่อนๆตอบว่าฉันคือ หมู
ฉันบอกว่า ไม่ใช่ 

ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต เคลื่อไหวได้ช้า มีสี่ขา และ ตัวของฉันแข็ง เพื่อนๆตอบว่าฉันคือ เต่า
ฉันบอกว่า ใช่

ฉันเป็น เต่า ฉันชื่อ ตุ๊กติ๊ก  มีตัวกลมๆ  ฉันเป็นสิ่งมีชีวิต เคลื่อไหวได้ช้า มีสี่ขา และ ตัวของฉันแข็ง 


การนำไปประยุกต์ใช้
 1 สามารภทำสื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
 2 การใช้ภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสม เพราะ เด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ได้เร็ว
 3 เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบ แสดงความคิดเห็น
 4 นิทานมีความตื่นเต้น ท้าทาย ว่าจะใช่สิ่งที่ตนคิดหรือไม่

สรุป
   นิทานฉันคือใคร เป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และได้พัฒนาทางด้านภาษา เนื่องจากมีคำซ้ำๆ ให้เด็กจดจำ ทั้งยังได้ฝึกจิตนาการของเด็กด้วย  การกล้าแสดงออก กล้าตอบ 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

ครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557

เข้าร่วมการสัมนา
" โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย"





วิทยากร

อาจาารย์ชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์



อาจารย์รชยา  ธนธัญชูโชติ

กิจการกรรมในการอบรม


ฝึกการหายใจ การหายใจที่ถูกต้อง คือ หาใจเข้า-ท้องป่อง  หายใจออก - ท้องแฟ้บ
ฝึกการอ่าน การออกเสียง  เพื่อเล่านิทาน เช่น การพูด คำว่า ปลาวาฬ จะช่ายให้ปากของเรากว้างและชัดเจนในการออกเสียง

หนังสือนิิทานเรื่อง หนอนจอมหิว 

หนังสือแนะนำจากวิทยากร เป็นหนังสือที่ดีมากเรื่องหนึ่งของโลก

ชมวีดีโอเรื่อง The Bear who had never seen Christmas

                   





วิทยาการสอนการวาดรูปอย่างง่ายให้กับนักศึกษา


เอกสารประกอบการอบรม

การนำไปประยุกต์ใช้
 1 ฝึกการอ่านออกเสียงในการเล่นนิทานหรือการพูดคุยต่างๆ
 2 ครูผู้สอนต้องอ่านออกเสียงชัดเจน ถูกต้อง
 3 เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็ก
 4 วาดรูปแบบง่ายๆแต่สามารถสื่อให้เด็กเข้าใจได้
 5 การวาดรูปที่แสดงถึงอารมณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจ
 6 นำวิธีการวาดรูปไปวาดประกอบสื่อในรายวิชาต่างๆ

สรุป

    การสัมนา" โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย" เป็นการสอนให้รู้จักการเรียนรู้ ดังนี้
     การเล่านิทาน การพูดอย่างถูกต้อง ชัดเจนโดยฝึกการพูดคำว่า "ปลาวาฬ" จะทำให้ปากของเรากว้างและมีเสียงที่ชัดเจน ตามหลักวิธีที่จะทำให้เรารู้ระดับเสียงของตนว่าควรใช้อย่างไร เพราะ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรหมั่นฝึกฝน ให้มีเสียงที่ดัง ต่อเนื่อง ชวนน่าฟัง น่าสนใจ  
     วงกลม เป็นการโครงร่างเิ่มต้นในการวาดรูปหน้าคน เส้นแบ่งนั้นจะใช้เพื่อวางโครงตำแหน่งตา จมูก ปาก






บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557

การสอนแบบโครงการ 
Project Approach

นำเสนอผลงาน 
" การสอนแบบโครงการสามรถพัฒนาทักษะได้อย่างไร "





การสอนแบบโครงการสามรถพัฒนาทักษะได้ ดังนี้
เด็กได้สังเกต
  - ได้รับความรู้ใหม่ 
  -  หาข้อมูลจากคำถามด้วยตนเอง
  -  ถามผู้ปกครองหรือผู้เชี่ยวชาญ
  -  ศึกษานอกสถานที่
ได้แสดงความคิดเห็น
  -  เลือกเนื้อหาที่ตนอยากเรียนได้ตามความสนใจ
 มีโอกาสได้ตั้งคำถาม
  -  คุณครูเปิดโอกาสได้เด็กถาม
  -เด็กเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
แสดงผลงานตามมุม
  -  เกิดความภาคภูมใจ  
  - ได้ลงมือปฏิบัติจริง
  -  รู้คำศัพท์เพิ่ม
  - ช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้ โดยไม่ต้องบังคับ


กิจกรรมในห้องเรียน

การสอนเด็กร้องเพลง


วิธีการนั่งขณะสอน
-  คุณครูต้องนั่งเสมอเด็ก
-  ห้ามนั่งบังสื่อที่จะนำเสอน
-  มีไม้สำหรับชี้

ขั้นตอนการสอนเด็กนักเรียนร้องเพลง
1 คุณครูอ่านชื่อเพลง ชื่อผู้แต่ง และ เนื้อเพลง
2 คุณครูให้เด็กอ่านเนื้อเพลงตาม
3 คุณครูร้องให้เด็กฟังก่อน
4  เด็กและคุณครูร้องพร้อมกัน
5 ร้องเพลงพร้อมกับทำท่าทางประกอบ






ตัวแทนของแต่ละกลุ่มนำเพื่อนในชั้นเรียนร้องเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้

1  เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด
2  ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน
3 ให้คำแนะเด็ก แต่ จะไม่ช่วยเด็กจนมากจนเกินไปเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
4  การลงมือปฏิบัตจริงตามที่ได้เรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้น  
5  ให้เด็กได้ใช้ภาษาแบบองค์รวม
6  จัดแสดงผลงานของเด็กไว้ภายในห้อง
7  ชื่นชมและให้กำลังใจเด็ก


สรุป

1 การจัดการเรียนการสอบแบบโครงการสามารถช่วยพัฒนาการทางด้านภาษา ดังนี้
 เรียนครบทุกกระบวนการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
2 สามารถอ่านออกเขียนได้โดยวิธีธรรมชาติ  เพราะ เกิดความคุ้นเคยจากสื่อที่ออยู่ในห้อง
3 ยึดเด็กเป็นศูนย์ในการสอน
4  ให้อิสระในการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
เปิดโอกาสให้เด็กได้ถ่ายทอดประสบการณ์เดิม


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

ครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดีที่ 30  ตุลาคม 2557

การสอนแบบโครงการ 
Project Approach





         








ตัวอย่างการเรียนรู้แบบโครงการ 


ลักษณะในการเขียนสื่อ เขียนตามที่นั่งของเด็ก


กิจกรรมการเรียนรู้ในห้อเรียน

ชมวิดีโอ เรื่อ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ
ภาพบางส่วนจากวิดิโอที่รับชม


การนำประยุกต์ใช้

1 คุณครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น การตั้งคำ การหาคำตอบ ได้อย่างอิสระตามความคิดของเด็กแต่ละคน

2 คุณครูช่วยแนะนำเด็ก และ ควรช่วยเหลืออยู่ห่างๆ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

3 จัดแสดงผลงานของเด็กไว้ในห้องเรียนทุกครั้ง จะทำให้เด็กเรียนรู้ และ เกิดความภาคภูมิใจ

สรุป

การสอนแบบโครงการทำเกิดให้พัฒนาด้านภาษาได้ดังนี้
1  เด็กได้เลือกหัวข้อที่ตนอยากเรียนรู้ได้เอง 
2   เด็กมีโอกาสได้สังเกต ค้นคว้าหาข้อมูลจากคำถามด้วยตนเอง
                   - ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่
              - แหล่งข้อมูล ได้แก่ ตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญหรือจากการออกนอก                               ภาคสนาม (การศึกษานอกสถานที่)   เช่น การเรียนเรื่องพิซซ่า คุณครูพาไปเรียนรู้ที่ร้าน   พิซซ่าและให้เด็กได้ถามกับผู้ที่ทำพิซซ่า
      3   เด็กได้แสดงความคิดเห็นจากการถ่ายทอดประสบการณ์เดิม
      4   เด็กมีส่วนร่วมในการอภิปรายตั้งคำถาม 
      5   การจัดแสดงผลงานตามมุมต่างๆภายในห้องเรียน
               - เด็กเกิดความภาคภูมิใจ 
               - เด็กจะอ่านออกเขียนได้โดยวิธีธรรมชาติ เพราะเกิดจากความคุ้นเคยและมี                                   ประสบการณ์กับตัวหนังสือ

               - เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อนหรือเขียนก่อน
               

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

ครั้งที่ 8
วันเสาร์ที่ 18  ตุลาคม 2557
(เรียนหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช 23 ต.ค. 2557)

กิจกรรมในห้องเรียน

ทบทวนบทเพลงทั้งหมด




อาจารย์ให้ร้องเพลงว่าถูกต้องตามจังหวะหรือไม่



ทำท่าทางประกอบเพลง ลมพัด และเพลงดอกมะลิ


จับฉลากร้องเพลงเป็นรายบุคคล


เพลงที่ร้องคือ เพลง ตาดูหูฟัง

การนำไปประยุกต์ใช้

  คุณครูควรเข้าถึงเด็กนักเรียนทุกๆคน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน คุณครูจะเป็นแบบอย่างให้เเก่เด็ก จึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝน เตรียมความพร้อมทางด้านการใช้ภาษาให้ถูกต้อง รวมทั้งการแสดงท่าทางต่างๆขณะประกอบกิจกรรม ควรมีความสดใสร่าเริงอยู่เสมอ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน อยากร่วมกิจกรรมนั้นๆ